top of page

Self-awareness สุขภาพจิตดี แค่มองเห็นตัวเอง

  • Writer: 🌻
    🌻
  • Jun 15, 2023
  • 1 min read

หลายคนที่มีปัญหาทางสุขภาพจิตหรือมีสถานการณ์ที่ไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ตัวเองได้ มักเป็นคนที่ขาดทักษะในการเข้าใจและรู้ทันความคิด ความรู้สึกและแรงจูงใจของพฤติกรรมตัวเอง หรือเรียกง่ายๆ ว่า SELF-AWARENESS ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการรู้จักตัวเอง แต่กลับกลายเป็นสิ่งที่สังคมมองข้ามและไม่เคยฝึกเราให้สร้างมันเลย นอกจากนี้ SELF-AWARENESS ยังเป็นองค์ประกอบสำคัญที่พัฒนาให้ EQ เราสูงขึ้นอีกด้วย


SELF-AWARENESS คือ

การที่เรามองเห็นและเข้าใจตัวเอง เปรียบเสมือนเวลาที่เรามองตัวเองในกระจก ยิ่งเราใช้เวลาและมองดูตัวเองใกล้ๆในกระจก เราก็จะยิ่งเห็นตัวเองชัดขึ้น และเมื่อเรารู้จักหน้าตา และตัวตนตัวเองชัดขึ้นเราก็จะรู้จุดด้อยและจุดเด่นของตัวเอง และรู้ว่าควรปรับหรือดูแลมันอย่างไร


SELF-AWARENESS และสุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตส่วนใหญ่ เช่น โรคซึมเศร้า โรคเครียดสะสม โรควิตกกังวล เป็นต้นมักเริ่มต้นจากการที่เรามองไม่เห็นตัวเอง เด็กส่วนใหญ่โตมาโดยที่ไม่ได้ถูกสอนให้เข้าใจอารมณ์ ความคิด แรงจูงใจ ของตัวเอง บางคนอาจถูกสอนให้กดทับอารมณ์ด้านลบ เช่น หยุดร้องได้แล้ว อย่าโกรธนะ จะเสียใจไปทำไม ...


ความรู้สึกที่ไม่เคยถูกประมวลผลและทำความเข้าใจ จึงถูกสะสมไปเรื่อยๆ จนวันหนึ่งที่สมองไม่สามารถกดทับความรู้สึกนั้นได้แล้ว มันจึงพัฒนากลายเป็นพฤติกรรมที่ toxic หรือโรคทางจิตอื่นๆตามมาได้


ฝึกสร้าง SELF-AWARENESS

การสร้าง self-awareness ก็เหมือนการดูกระจก มันคือการที่เรากลับมาอยู่กับตัวเอง ใช้เวลาพิจารณาความรู้สึกความคิด ความต้องการ และประสบการณ์ที่เราเจอมา


  • กระจกของเราอาจจะเป็นการเขียน (journal) เพื่อนำสิ่งต่างๆที่เราคิดหรือรู้สึกในหัวออกมาเป็นตัวอักษรหรือรูปภาพ

  • กระจกของเราอาจจะเป็นการทำสมาธิ (meditation) โฟกัสอยู่กับปัจจุบันและสิ่งที่อยู่ตรงหน้า เพื่อให้จิตเราได้หยุดอยู่กับตัวเอง และเห็นตัวเองชัดขึ้น

  • กระจกของเราอาจจะเป็นการคุยกับนักบำบัด (therapy) เพราะนักบำบัดจะมีทักษะที่จะช่วยสะท้อนให้เราเห็นสิ่งที่เราคิดหรือรู้สึกได้


เมื่อเรามี SELF-AWARENESS

เราจะรู้ทันความคิด ความรู้สึก ความเชื่อ การกระทำ และแรงจูงใจของตัวเองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เราจะรู้ว่าเราคือใคร ต้องการอะไร รู้สึกอย่างไร และยังพัฒนาให้ EQ เราสูงขึ้นด้วย


เราจะรู้แรงขับเคลื่อนภายในจิตใต้สำนึกว่าทำไมเราถึงทำสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ เช่น การที่เราเป็นคนขี้หึงมากเมื่ออยู่ในความสัมพันธ์ หากเราไม่สร้าง self-awareness เราก็จะปล่อยให้ความกลัวที่อยู่ในจิตใต้สำนึกขับเคลื่อนพฤติกรรมเราไปเรื่อยๆ แต่หากเราฝึกที่จะทำความเข้าใจตัวเองและสิ่งที่เกิดขึ้น เราอาจจะพบว่า การหึงเป็นรูปแบบพฤติกรรมที่เราสร้างขึ้นเพื่อปกป้องเราจากความเจ็บปวดที่เราเคยเจอในวัยเด็กก็ได้ เมื่อเรารู้ทันมัน เราก็จะสามารถฝึกที่จะควบคุมมันได้


รัก, แอม🌻


Comments


bottom of page